วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วรรณกรรมท้องถิ่น

ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น
วรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง วรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์อักษรที่ถ่ายทอดในกลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใดในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งมาเป็นเวลานาน ผู้เล่าหรือผู้เขียนเป็นคนในท้องถิ่นถ่ายทอดให้แก่คนในท้องถิ่นเดียวกับตนโดยการบอกเล่าหรือเขียนบันทึก ไว้
วรรณกรรมท้องถิ่นที่เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ได้แก่ เพลงพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน
           สำนวนโวหาร ภาษิต ปริศนาคำทาย คำกล่าวในพิธีกรรมต่างๆ เช่น คู่สู่ขวัญ คาถา เป็นต้นและบทที่ใช้ในการแสดงพื้นบ้านวรรณกรรมเหล่านี้ล้วนสืบทอดกันมาตามประเพณื จากคนรุ่นก่อนสู่คนรุ่นหลัง โดยการเล่าการขับ การร้อง และการแสดงส่วนวรรณกรรมท้องถิ่นที่ถ่ายทอดด้วยตัว เขียนที่เรียกว่าวรรณกรรมลายลักษณ์เป็นวรรณกรรมที่กวืในท้องถิ่นแต่งขึ้นและบันทึกด้วยตัวอักษรที่ใช้กันในท้องถิ่น ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา นิทานที่มี คติสอนใจ คำสอนเชิงจริยธรรม บันทึกทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น และตำราความรู้ต่างๆ
เนื่องจากกวีหรือผู้คัดลอกต้องเป็นผู้รู้หนังสือ จึงเป็นหน้าที่ของพระภิกษุโดยบรรยาย
          ในวันธรรมสวนะและวันสำคัญทางประเพณี พระสงฆ์จะนาหนังสือมาอ่านให้ญาติโยมฟังเป็นการถ่ายทอดวรรณกรรมสู่ประชาชน ขณะเดียวกันคนไทยในทุกท้องถิ่นก็เคยมีความเชื่อร่วมกันว่า การสร้างหนังสือถวายวัดเป็นการสืบทอดพระศาสนาอย่างหนึ่ง จึงทำให้เกิดประเพณีการแต่งหนังสือและการคัดลอกหนังสือเก็บไว้ที่วัด วัดจึงเป็นศูนย์กลางสำคัญในการเผยแพร่วรรณกรรมลายลักษณ์ของท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น